0 0
Read Time:8 Minute, 40 Second

จากประเด็นการถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ในประเด็นที่ว่า ไอทีวี มีการดำเนินกิจการเกี่ยวกับสื่อหรือไม่

จนทำให้ชื่อบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถูกพูดถึงอีกครั้งหนึ่ง ในวันนี้ พีพีทีวี จึงจะพาไปไล่เรียงลำดับเหตุการณ์และความเป็นไปของ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

โดยบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสื่อโทรทัศน์ โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการสัมปทานสถานีโทรทัศน์ระบบ UHF จาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เดิมชื่อ บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 โดย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทอื่นๆ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541

จุดเริ่มต้น

แนวคิดการก่อตั้งไอทีวี เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เนื่องจากในขณะเกิดเหตุการณ์ สื่อโทรทัศน์ในขณะนั้น ไม่ได้รายงานข่าวเหตุการณ์นองเลือดตามความเป็นจริง ประกอบกับมีเสียงเรียกร้องจากประชาชน ให้เปิดดำเนินการสถานีโทรทัศน์เสรี ในระบบยูเอชเอฟ เพื่อให้คนไทยมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องเป็นกลางอย่างแท้จริง

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) กำหนดเงื่อนไขของสัมปทานไว้ว่า ผู้รับสัมปทานจะต้องมีผู้ถือหุ้น 10 ราย แต่ละรายต้องมีสัดส่วนหุ้นที่เท่ากัน พร้อมกับแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพื่อป้องกันการผูกขาด และมีสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวและสาระ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และรายการบันเทิงไม่เกินร้อยละ 30

ในปี พ.ศ. 2538 กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ได้รับสัมปทานและได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ดำเนินงานบริหารสถานีฯ เป็นเวลา 30 ปี (สิ้นสุดวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2569) ค่าสัมปทาน 25,200 ล้านบาท

ต่อมา ผู้ถือหุ้นบางส่วนถอนตัวออกไป และตั้งชื่อสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539

การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น

ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ขาดทุนอย่างหนัก ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้รายใหญ่ ได้เปลี่ยนแปลงประธานกรรมการไอทีวี และมีนโยบายที่จะแก้ปัญหาการขาดทุน โดยผลักดันให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ในเรื่องการกระจายผู้ถือหุ้น และจะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น มีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 อนุมัติให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ด้วยเหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และเป็นไปตามข้อบังคับของ ตลท. และมีการแก้ไขสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2543

จากนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ได้ดึงกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น (ชินคอร์ป) เข้ามาถือหุ้นไอทีวีด้วยวงเงิน 1,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 39% ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ได้แปลงหนี้เป็นทุน มีสัดส่วน 55% โดยมอบสิทธิ์การบริหารให้กับชินคอร์ป โดยชินคอร์ปได้เสนอซื้อหุ้นสามัญฯ จากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ด้วย ส่งผลให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ และส่งผู้บริหารเข้ามาบริหารไอทีวี

โดยช่วงเวลาที่กลุ่มชินคอร์ปของตระกูลชินวัตรเข้าถือหุ้นใหญ่ในไอทีวี เป็นเวลาเดียวกับการลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของ พรรคไทยรักไทย ที่มี ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค

กรณีกบฏไอทีวี

การเข้ามาถือหุ้นในไอทีวีของชินคอร์ป ถูกคัดค้านโดยพนักงานฝ่ายข่าวของไอทีวี เนื่องจากมีการเข้าแทรกแซงของฝ่ายผู้บริหาร ในการทำข่าวการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม 2544 ทั้งหมดนำมาสู่การออกแถลงการณ์ข้อเรียกร้องให้ยุติการครอบงำ กดดัน กลั่นแกล้ง และแทรกแซงสื่อ

การเพิ่มทุนจดทะเบียน และแก้ไขสัญญาสัมปทานคำพูดจาก เว็บสล็อต ดีที่สุดในไทย

จากนั้นชินคอร์ป ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทฯ เป็น 1,200 ล้านบาท และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 และได้เสนอขายหุ้นของบริษัทฯ แก่ประชาชนทั่วไป และเมื่อ พ.ศ. 2546 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีกครั้ง เป็น 7,800 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 300 ล้านหุ้น

ในปี พ.ศ. 2547 ชินคอร์ป ได้ยื่นเรื่องต่อ อนุญาโตตุลาการ ขอแก้ไขสัญญาสัมปทาน และขอลดค่าสัมปทาน ที่ต้องจ่ายให้รัฐ ปีละ 1,000 ล้านบาท โดยอ้างว่า เอกชนรายอื่นจ่ายต่ำกว่า

โดยคณะอนุญาโตตุลาการ ได้วินิจฉัยชี้ขาดในวันที่ 30 มกราคม 2547 ลดค่าสัมปทานให้สถานีฯ ลงเป็นปีละ 230 ล้านบาท พร้อมทั้งอนุญาตให้สถานีฯ แก้ไขสัดส่วนการออกอากาศ รายการสาระ ต่อรายการบันเทิง จากร้อยละ 70 ต่อ 30 เป็นร้อยละ 50 ต่อ 50 และวินิจฉัยให้รัฐจ่ายค่าชดเชยแก่บริษัทฯ เป็นเงิน 20 ล้านบาท เนื่องจาก สปน. ทำผิดสัญญา มิได้ให้ความคุ้มครองแก่บริษัทฯ และสถานีฯ ตามที่ได้ทำสัญญาสัมปทานไว้

การตัดสินของศาลปกครองฯ เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

สปน.ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการต่อศาลปกครอง ในประเด็นที่มีคำวินิจฉัย มีการระบุให้แก้ไขในสัญญาร่วมการงาน และเรียกร้องให้ศาลปกครองกลาง พิจารณาเพิกถอนคำสั่งของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่ผิดเจตนารมณ์ และอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยเกินขอบเขตอำนาจ

ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ให้เพิกถอนคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ที่ชี้ขาดให้ สปน. ลดค่าสัมปทานให้สถานีฯ และให้ สปน. จ่ายค่าชดเชยให้บริษัทฯ

ซึ่งจากคำพิพากษาดังกล่าว ส่งผลให้ สถานีฯ ต้องจ่ายค่าสัมปทาน ปีละ 1,000 ล้านบาท เช่นเดิม และต้องปรับสัดส่วน รายการข่าวและสาระ ต่อรายการบันเทิง กลับไปเป็น ร้อยละ 70 ต่อ 30 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังต้องเสียค่าปรับ จากการผิดสัญญาสัมปทาน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการ ที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานในแต่ละปี โดยคิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มมีการปรับผังรายการ รวมระยะเวลา 2 ปี เป็นค่าปรับทั้งสิ้น ประมาณ 9.4 หมื่นล้านบาท และศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืน ตามคำตัดสินของศาลปกครองกลาง

กระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เรียกให้ ไอทีวี ชำระค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 15% เป็นจำนวนเงินรวม 464.5 ล้านบาท ภายใน 45 วัน และให้ชำระค่าปรับกรณีทำผิดสัญญาเรื่องผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท

เปิดพิรุธร่างงบการเงินหุ้น ITV "สฤณี" ข้องใจบริษัทใช้พนักงาน-อุปกรณ์ไหนทำสื่อ?

เปิดข้อมูล "ไอทีวี" จากสถานีโทรทัศน์ สู่ ปมหัวหน้าพรรคก้าวไกล ถือหุ้น

เปิดกฎหมาย พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด “ปลอมแปลงเอกสาร” ปมคลิปประชุมผู้ถือหุ้น ไอทีวี

การยกเลิกสัมปทาน

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีมติว่า หากไอทีวีไม่สามารถจ่ายค่าปรับและค่าสัมปทานค้างจ่าย คิดเป็นเงินประมาณ 1 แสนล้านบาทได้ภายในวันที่ 7 มีนาคม 2550 ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเลิกสัมปทานกับไอทีวี

หลังจากการที่ถูก สปน.บอกเลิกสัญญาสัมปทานว่าด้วยการบริหารกิจการสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟไป ในปี 2550 มีการพยายามเจรจาต่อรองกันหลายรอบ แต่ท้ายที่สุดวันที่ 7 มี.ค. 2550 คณะรัฐมนตรีมติให้ "ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี" ในวันเดียวกัน

ต่อมา บริษัท ไอทีวี จำกัด มหาชน ได้เสนอข้อพิพาท กรณี สปน.บอกเลิกสัญญาสัมปทานโดยมิชอบ โดยเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2559 คณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาดว่า สปน.บอกเลิกสัญญาสัมปทานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่ ไอทีวี และ ไอทีวี ก็ต้องชำระค่าตอบแทนส่วนต่างเช่นกัน คำชี้ขาดจึงสรุปว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีหนี้ที่ต้องชำระต่อกัน เป็นเงิน 2,890,345,205.48 บาทเท่ากัน ต่างฝ่ายจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันและกัน

ต่อมาในวันที่ 29 เมษายน 2559 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างเหตุว่า คำชี้ขาดดังกล่าวนั้นไม่เป็นไปตามข้อสัญญา เกินขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กระทั่งปลายปี 2563 ศาลปกครองกลางพิพากษาว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการนั้นชอบด้วยกฎหมาย มีผลบังคับใช้ได้ ไม่มีเหตุให้ต้องเพิกถอน

ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม 2564 สปน.ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองกลางดังกล่าว ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งความคืบหน้าในการพิจารณาคดีนี้ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงล่าสุด คดีอยู่ในขั้นตอนของตุลาการเจ้าของสำนวน จัดทำบันทึกความเห็นของตนเองที่มีต่อคดี ยังไม่มีการกำหนดนั่งพิจารณาคดี หรือนัดอ่านคำพิพากษาแต่อย่างใด

ไอทีวียุคปัจจุบัน

แม้ว่าปัจจุบัน ไอทีวี จะไม่ได้ประกอบกิจการเป็นสถานีโทรทัศน์แล้ว แต่จากงบการเงิน ปี 2565 ยังคงมีรายได้อยู่ที่ 20.6 ล้านบาท ซึ่งมาจากผลตอบแทนเงินลงทุน และดอกเบี้ยรับ นอกจากนี้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังได้มีมติให้เพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทฯที่เคยทำการซื้อขาย ออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้บริษัทฯต้องพ้นจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว

ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ITV ทั้งหมด 75% คือ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ของ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin