0 0
Read Time:9 Minute, 13 Second

วิกฤติอาหารโลก!!! กำลังถูกส่งสัญญาณเตือนแรง และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายเวทีโลก ต่างหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา ยิ่งล่าสุด 30 ประเทศทั่วโลก ประกาศจำกัดการส่งออกอาหาร นับเป็นปรากฏการณ์กักตุนสินค้าเกษตรที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤติราคาอาหารเมื่อปี 50-51 ยิ่งทำให้สถานการณ์ “ความมั่นคงทางอาหารของโลก” เริ่มเลวร้ายขึ้น จากเดิมที่ทั่วโลกต้องเผชิญปัญหาภาวะโลกร้อน ลามมาถึงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ต่อด้วยวิกฤติความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน จนลากยาวมากระทบถึงวิกฤติราคาพลังงานที่สูงต่อเนื่อง

คริสตินา จีโอจีวา” ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ออกมาเตือนถึงเศรษฐกิจโลกที่กำลังเข้าสู่สภาวะยุ่งเหยิง เป็นผลมาจากทั้งการระบาดของโควิด-19 ตลอดไปจนถึงความขัดแย้งในรัสเซีย-ยูเครน รวมทั้งมี 30 ประเทศทั่วโลก ที่ใช้มาตรการจำกัดการส่งออกอาหาร พลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ นับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งในรัสเซีย-ยูเครน ยิ่งทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ซึ่งจากปัญหาราคาอาหาร และราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ จะยิ่งสร้างความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะที่ยุ่งเหยิงอย่างที่สุด

คาดวิกฤติยาวถึงปี 66

สอดคล้องกับ “เดวิด มัลพาส” ประธานธนาคารโลก มองว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น วิกฤติการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารครั้งนี้ จะครอบคลุมระยะเวลาหลายเดือนและอาจยืดเยื้อไปจนถึงปี 66

ยิ่งเข้าไปดูข้อมูลของ “องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ” หรือเอฟเอโอ ยิ่งส่อให้เห็นถึงวิกฤติราคาอาหารแพงทั่วโลก ระบุว่า ดัชนีราคาอาหาร เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้า อาหารและโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดทั่วโลก เช่น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ น้ำมันพืช และน้ำตาล มีค่าเฉลี่ยเดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ 133.7 จากระดับ 134.9 เทียบกับเดือนพ.ย.ปี 64 ถือเป็นเดือนที่ 4 ที่ดัชนีเพิ่มสูงขึ้น และยังเป็นระดับที่พุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี

ขณะที่ราคาอาหารของไทยก็พุ่งทะยานไม่หยุดเช่นกัน เช่น เนื้อหมูแพงสุดในรอบ 10 ปี ไก่ ปลา ผักต่าง ๆ พริก ราคาปรับขึ้นยกแผง ทำให้บรรดาพ่อค้าแม่ค้าอั้นราคาไม่ไหว ปรับขึ้นราคาอาหารตามสั่ง 5-10 บาท เพราะนอกจากราคาวัตถุดิบที่ปรับขึ้นแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากก๊าซหุงต้ม ราคาน้ำมันดีเซล ที่เป็นน้ำมันหลักในภาคขนส่งก็ขึ้น ค่าไฟฟ้าก็ปรับขึ้น ทุกอย่างขึ้นแซงหน้ารายได้ ที่อยู่เท่าเดิม บางรายลดลงกว่าเดิมด้วยซ้ำ!!!

โอกาสในวิกฤติจริงหรือ?

ด้านการรับมือวิกฤติอาหารของโลก…ของไทย ดูเหมือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันว่า จะเป็น “โอกาสในวิกฤติ” ของไทยมากกว่า ด้วยความที่ไทยเป็น “ครัวของโลก” เป็นประเทศที่มีสินค้าเกษตรหลากหลาย จึงเชื่อว่าไทยจะไม่เดินไปสู่จุดขาดแคลนอาหาร โดยเรื่องนี้ กรมการค้าภายใน และกระทรวงพาณิชย์ ที่ดูแลเรื่องการค้า และการส่งออก ระบุว่า ได้ติดตามสถานการณ์สินค้าอุปโภค อาหาร สินค้าเกษตร และสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งภายในประเทศและทั่วโลกแบบใกล้ชิด ติดตามกันแบบรายวัน ภายใต้โจทย์สำคัญคือดูแลให้มีปริมาณสินค้าเพียงพอสำหรับบริโภคภายในประเทศ ขณะเดียวกันก็ส่งออกสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างเหมาะสม

สำหรับรายการสินค้าที่ติดตาม มีทั้งกลุ่มที่ผลิตได้ภายในประเทศ และไทยเป็นผู้ส่งออก เช่น ข้าวสาร น้ำมันปาล์ม เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ไก่ มันสำปะหลัง อาหารแปรรูป รวมถึงสินค้าอื่น ๆ ซึ่งไทยยังคงมีเพียงพอสำหรับบริโภคภายในประเทศ และยังคงสามารถส่งออกได้ปกติ โดยไม่ขาดแคลน

เร่งเกาะติดสถานการณ์

ส่วนสินค้าที่ไทยผลิตไม่ได้ และมีความจำเป็นต้องนำเข้ามาใช้ภายในประเทศ เช่น วัตถุดิบอาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี กระทรวงพาณิชย์ได้มีการหารือกับผู้ประกอบการ เพื่อบริหารจัดการอยู่ตลอด ไม่ให้เกิดขาดแคลน เช่น มีการหารือกับผู้ประกอบการปุ๋ย ให้หาแหล่งนำเข้าใหม่ จากซาอุดีอาระเบีย ทดแทนการนำเข้าจากรัสเซีย

“วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม” อธิบดีกรมการค้าภายใน ขยายความว่า แม้ไทยจะเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ และสามารถส่งออกสินค้าออกเป็นอันดับต้นของโลกได้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นข้าวที่ส่งออกติด 1 ใน 3 ของโลก เนื้อไก่ส่งออกสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รวมถึงน้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง แต่กรมฯ ก็ไม่ประมาท มีการติดตามสถานการณ์ตลอดแบบรายวัน เพราะในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทำให้สถานการณ์สินค้าทั่วโลกผันผวนมาก ก็จำเป็นต้องดูแลให้พี่น้องประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ ด้าน “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ก็สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเมินสถานการณ์ เพื่อให้สินค้ามีเพียงพอกับการบริโภค ซึ่งในภาพรวมก็ยังไม่มีสินค้าตัวใดน่าเป็นห่วง

ภาคเอกชนเอง ก็มีมุมคล้าย ๆ กัน แต่แสดงความเป็นห่วง และอยากให้รัฐบาลตั้งรับมือให้ดีเพิ่มขึ้น เพราะในอดีตที่ผ่านมา ไทยมีหลายบทเรียนใหญ่ ที่บางเรื่องรัฐบาล รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจชะล่าใจไป ทำให้ “โอกาส” ที่ไทยควรได้รับ กลับกลายเป็นวิกฤติแบบไม่ทันตั้งตัว อย่างเรื่องครัวไทยสู่โลก จากที่ผ่านมารัฐบาลเคยประกาศการส่งออกอาหารของไทยต้องติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก หรือบางหน่วยงานมองถึง 1 ใน 5 ของโลก แต่เวลานี้…ผ่านมาหลายปีก็ยังไม่เห็น ที่สำคัญอันดับล่าสุดปี 64 ยังร่วงไปอยู่ที่อันดับ 13 จากที่ผ่านมาปี 62 เคยไต่ระดับไปถึงอันดับที่ 11 แล้วก็ตาม

ชี้รัฐไร้แอ๊คชั่นแพลน

“ธรรศ ทังสมบัติ” นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป มองว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน หากจำกัดวงอยู่เช่นปัจจุบันโอกาสของไทยในการส่งออกสินค้าอาหารจะมีมากขึ้น แม้ว่า ระดับราคาสินค้าจะมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นจากต้นทุนทั้งราคาน้ำมัน วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ที่แพงก็ตาม แต่หากยืดเยื้อและขยายวงไปสู่ภูมิภาคอื่น และที่สุดนำไปสู่สงครามใหญ่บริบทจะเปลี่ยนไปทันที และสิ่งสำคัญมากกว่าการส่งออกที่ไทยต้องเตรียมพร้อมไว้คือ ความมั่นคงทั้งด้านพลังงานและอาหารที่จะเพียงพอดูแลคนในประเทศ

นายกธรรศ ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า หลายประเทศมีการคิดที่จะดูแลคนในประเทศ โดยการจำกัดการส่งออก และมีการสำรองอาหารกันไว้บ้างแล้ว แต่ไทยเองผมยังไม่เห็นว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีแอ๊คชั่นแพลนใด ๆ ที่ทำให้ประชาชนเกิดความ
เชื่อมั่นได้ว่า หากเกิดกรณีเลวร้ายขึ้นมาคนไทยจะมีอาหารเพียงพอในภาพรวม และหากถามว่าพอหรือไม่ คงต้องถามรัฐเพราะจะรู้ปริมาณการผลิตของแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว และสต๊อกสินค้าแต่ละชนิด ว่าถึงจุดที่ต้องจำกัดการส่งออกหรือยัง รวมไปถึงคาดการณ์ในฤดูการผลิตถัดไปเป็นอย่างไรในการเตรียมรับมือ

เช็กสต๊อกกันเหตุฉุกเฉิน

สอดคล้องกับ “ธนิต โสรัตน์” รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ระบุว่า แม้ไทยจะไม่เกิดวิกฤติขาดแคลนอาหารเพราะเป็นประเทศที่มีภาคเกษตร ฐานการผลิตอาหารสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกที่ติดอันดับโลก แต่ขณะเดียวกันประเทศไทยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องไม่ตั้งอยู่บนความประมาท เพราะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยังยืดเยื้อและยังไม่แน่นอนว่าจะไปในทิศทางใดแน่ ดังนั้นไทยต้องเช็กสต๊อกสินค้าเพื่อป้องกันกรณีหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถจำกัดโควตาการส่งออกได้

ขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาวัตถุดิบต่าง ๆ สูง ย่อมทำให้ราคาสินค้าจะแพง กลุ่มอาหารก็เช่นกันราคาจะแพงขึ้นแน่นอนจึงไม่เกิดวิกฤติขาดแคลน แต่ถ้าสงครามใหญ่เกิดขึ้นก็เป็นอีกเรื่อง แต่เราก็ไม่ควรทำตัวประมาทเพราะหากปล่อยให้ภาคเกษตรเป็นอย่างเช่นทุกวันนี้ต่อไป ประเทศเพื่อนบ้านจะได้เปรียบในแง่ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะเรื่องของค่าแรง ที่สุดท้ายอาจเป็นผู้นำเข้าแทนก็ได้

ที่สำคัญการส่งเสริมให้ไทยเป็นครัวโลกเป็นเรื่องดี จึงอย่าทิ้งจุดแข็งนี้แล้วมัวแต่ไปมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคโนโลยีที่ไม่ใช่เทคโนโลยีของไทย จนลืมไปว่าไทยเป็นเมืองเกษตรมานานแล้วและควรจะต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม วิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น ประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้วเขายังไม่เคยละทิ้งภาคเกษตรแต่อย่างใดและทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งได้แต่ไทยกลับละเลยสิ่งเหล่านี้

ปลดล็อกภาษีวัตถุดิบ

ด้าน “วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (.อท.) มองว่า เป็นโอกาสที่ดีในการขยายตลาดการส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารของไทย โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มข้าวที่สามารถนำมาทดแทนข้าวสาลีที่อินเดียระงับการ
ส่งออก, สินค้าไก่ หลังจากมาเลเซียงดการส่งออก ทำให้ไทยขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ได้มากขึ้น จากที่ผ่านมาไม่สามารถทำตลาดได้ง่าย ๆ เช่น ยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชีย ยังมีสินค้ากลุ่มน้ำตาล ที่รัสเซียระงับการส่งออก หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกน้ำตาลลดลง ต่อไปเชื่อว่าจะส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากน้ำตาลสามารถไปผลิตได้ทั้งกลุ่มอาหาร และนำไปผลิตแอลกอฮอล์ได้ เป็นผลจากที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้น รวมถึงมันสำปะหลังสามารถนำไปผสมอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์ได้

จากความต้องการต่าง ๆ ทำให้แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยปี 65 คาดว่า มีมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4% หากเป็นไปตามคาดจะเป็นสถิติส่งออกสูงสุดครั้งใหม่ ของการส่งออกอาหาร ที่สำคัญต้องการให้รัฐปลดล็อกกำแพงภาษีชั่วคราว ในการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่จำเป็น เพื่อนำมาแปรรูปในประเทศ ก่อนที่จะส่งออกไปอีกครั้ง เช่น ถั่วเหลือง อาหารทะเล เมล็ดกาแฟ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ไทยผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะฉะนั้นจึงไม่กระทบต่อสินค้าในประเทศ แต่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าอาหารของไทย และต้องการให้จัดการปุ๋ยราคาถูกให้กับเกษตรกร รวมถึงจัดหาพื้นที่เพาะปลูก และเมล็ดพันธุ์เพาะปลูก เพื่อให้ต้นทุนการเพาะปลูกปรับลดลง ถ้าปลดล็อกปัญหาต่าง ๆ ปีนี้อาจได้เห็นตัวเลขการส่งออกอาหารเพิ่มขึ้น 10% ก็ได้

สร้างแบรนด์ครัวโลก

ส่วนมุมมองเอกชนอุตสาหกรรมอาหารรายใหญ่ อย่าง “ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ” ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ระบุว่า ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ก่อให้เกิดสถานการณ์วิกฤติด้านอาหารนั้นทำให้ต้นทุนราคาสินค้า ทั้งธัญพืช ข้าวสาลี ปุ๋ย ปรับสูงขึ้น แต่มองว่าหากเกิดวิกฤติรุนแรงทั่วโลกอาจจะทำให้สถานการณ์พลิกกลับมาคลี่คลายลงในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้คำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อตทุกค่ายไม่ต้องสมัคร

สำหรับสิ่งที่ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมในเรื่องดังกล่าว คือ เร่งสร้างความมั่นใจในประเทศว่าสินค้าจะไม่มีปัญหาขาดแคลนและจะไม่ใช้มาตรการระงับการส่งออก เพราะไทยต้องใช้โอกาสนี้ในการสร้างแบรนด์ว่าเป็นประเทศที่เป็นครัวของโลก ยังสามารถผลิตและจำหน่ายได้ ในส่วนของวัตถุดิบที่เป็นต้นทางนั้นได้มีการแก้ไขปัญหาแล้ว ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นจุดสำคัญที่ทำให้หลาย ๆ ประเทศกลับมาซื้ออาหารจากไทย

จะเห็นได้ว่า แม้ในวิกฤติยังเป็นโอกาสที่ดีของไทย แต่ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังมัวแต่ “หลง” ใน “โอกาส” ที่ไทยคว้าไว้ โดยไม่ทำแผนรองรับให้รัดกุม รอบด้านทุกมิติ ต่อไปเกิดวิกฤติอย่างฉับพลัน จะล้มครืนไม่ทันตั้งตัว!!.

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin